วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
"แค้นเสน่หา" ตัวเล็กหุงข้าวเช็ดน้ำเป็นด้วย เก่งจังเลย.. แหม ข้าวแช่ก็กินเป็น แกะมะปรางลอยแก้ว..โบ..โบราณที่สุด
"แค้นเสน่หา" ตัวเล็กหุงข้าวเช็ดน้ำเป็นด้วย เก่งจังเลย.. แหม ข้าวแช่ก็กินเป็น แกะมะปรางลอยแก้ว..โบ..โบราณที่สุด
หุงข้าวเช็ดน้ำ
ไม้สะแกเลื่อยเป็นท่อนใหญ่ ๆ ก่อนที่จะผ่าด้วยขวานโยน เป็นซีกนี้ บางทียายก็กันออกไปส่วนหนึ่งเพื่อจะนำไปเผาถ่านโดยทิ้งตากแดดไว้ 2-3 วัน
จากนั้นยายจะใช้ไม้ฟืนชิ้นเล็ก ๆ ก่อไฟในเตาย่างปลาที่ตอนนี้เปลี่ยนป็นเตาเผาถ่าน พอลุกโชนดีแล้ว โรยแกลงไปสุมทับเมื่อแกลบติดไฟ
จึงใช้คราดเหล็กคราดเกลี่ยนจนทั่วเตา เอาท่อนสะแกลงวางเรียงให้ทั่วเตาไทย แกลบสุมทับด้านบนหนา ๆ อีกครั้งหนึ่ง
ปล่อยให้ไฟไหม้ท่อนไม้ในเตาเผาถ่านมีควันบาง ๆ ลอยผ่านกองแกลบออกมาเรื่อย ๆ เป็นเรื่องที่แปลกนะครับ เมื่อใดที่ควันหมด ท่อนไม้
ที่อยู่ในเตาจะถูกเผากลายเป็นถ่านเรียบร้อยแล้ว
ยายมีเคล็บลับในการเผาถ่านครับ พอควันไฟจางลงจนเกือบหมดหรือที่ยายเรียกว่า "ถ่านสุก" แล้ว ยายจะใช้พลั่วอันใหญ่ตักขี้เถ้าแกลบ
ด้านบนออก ใช้คีมคีบถ่านร้อน ๆ ในเตาเผาจุ่มลงในถังน้ำมาวางเรียงบนแผ่นสังกะสีแผ่นใหญ่
ปล่อยตากแดดไว้จนแห้ง ถ่านที่ได้จะแกร่งเวลาที่นำไปก่อไฟใช้ในครัว จะมีควันน้อยและไม่แตกเป็นสะเก็ดไฟครับ
ชาวทุ่งค้นุกับการหุงข้าวแบบเช็ดน้ำ ก่อนอื่นก่อเตาฟืนด้วยการเกรียกไม้ไผ่ผุ ๆ เป็นชิ้นเล็ก ๆ วางก่ายเป็นเชื้อไฟ จุดด้วยไฟขีดไฟ
พอไฟติด ก็ค่อย ๆ วางไม้ฟืนลงไป บางบ้านใช้ขี้ไต้เป็นเชื้อไฟก็มี
ตวงข้าวสารตามจำนวนที่ต้องการใส่หม้อดินหรือหม้อลูมิเนียมที่มีขนาดใหญ่หน่อย ซาวข้าวเทน้ำทิ้งไป 2 ครั้ง เติมน้ำสะอาดลงไปใน
หม้อหุงข้าวพอควร ไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำมาก ระวังแต่เพียงอย่าให้น้ำน้อยเกินไปเท่านั้น
ไฟจากเตาฟืนนั้นลุงโพลงทันใจ บางทีเปลวไฟวูบสูงจนท่วมหม้อ และมิได้มีแต่เพียงเปลวไฟเท่านั้นควันไฟก็มีจำนวนมากด้วย ยิ่งฟื่นที่ไม่แห้งสนิท
ควันไฟจะม้วนวนเต็มครัวไปหมด ดังนั้นหม้อข้าวหม้อแกงในครัวที่ใช้เตาฟืนจะมีเขม่าจับจนดำหนา
พอข้าวเดือดเปิดฝาหม้อทิ้งไว้ และต้องหมั่นใช้ทัพพีคนไม่ให้ข้าวติดก้นหม้อ ปล่อยให้เดือดสักพัก ใช้ทัพพีตักเมล็ดข้าวขึ้นมาดู เมื่อเห็นว่า
เมล็ดข้าวเริ่มเริ่มบานยกหม้อข้าวลงเช็ดน้ำ
ม้าเช็ดน้ำข้าวต่อด้วยไม้เนื้อแข็งมีความสูงคืบเศษ ๆ ด้านบนเว้นเป็นช่องไว้ขนาดฝ่ามือตลอดความยาว ด้านล่างมีกะละมังสังกะสีเคลือบหรือ
อ่างดินเผาปากกว้างเกือบศอกวางอยู่ ค่อย ๆ รินน้ำข้าวลงไปในอ่างน้ำข้าวจนน้ำข้าวลดระดับลงเสมอเมล็ดข้าว จึงปิดฝาหม้อ ถ้าเป็นหม้ออลูมิเนียม
ต้องใช้ไม้ขัดหม้อสอดร้อยหูหม้อทั้งสองด้านผ่านรูมือจับบนฝาหม้อจนแน่น
แต่ถ้าเป็นหม้อดินต้องใช้ผ้าขี้ริ้วที่สะอาดชุดน้ำบิดหมาด ๆ ควั่นหลวม ๆ คล้องเข้ากับหูหม้อทั้ง 2 ข้าง
ขมวดปลายผ้าพอแน่น นิ้วหัวแม่มือทั้งข้างข้างกดปลายผ้าขี้ริ้วลงบนฝาหม้อดิน
ค่อย ๆ เอียงปากหม้ด้านหนึ่งสอดลงไปช่องด้านบนม้าเช็ดน้ำข้าว น้ำข้าวจะไหลลงไปในกะละมังหรืออ่างดินเผาจนสะเด็ดน้ำ น้ำข้าวร้อน ร้อน ๆ
น้ำข้าวร้อน ๆ ที่เพิ่งเช็ดน้ำนี้อุดมด้วยวิตามิน เช้า ๆ ตาชอบแบ่งใส่ถ้วยโรยเกลือนิดน้ำตาลหน่อย ซดเป็นประจำ แล้วก็ล้อตัวเองว่ากิน "กาแฟหมา"
ยกหม้อขึ้นจากม้าเช็ดน้ำข้าว เขย่าหม้อเบา ๆ ให้ข้าวในหม้ออยู่ในระดับเดียวกัน ราไฟลงเตาลง เหลือไฟอ่อน ๆ นำหม้อข้าวที่เช็ดน้ำแล้ว
ขึ้นไป "ดง" โดยวางหม้อให้เอียงข้างลงโดนความร้อนด้านหนึ่ง แล้วหมุนให้ถูกไฟทั่วทั้งหม้อหลาย ๆรอบ
ระหว่างนั้นใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาด ๆ เช็ดน้ำข้าวที่เปรอะเปื้อนข้างหม้อจนสะอาด เมื่อข้าวสุกแห้งสนิทดีแล้วจึงยกลงวางบน "เสวียน"
ทิ้งไว้ให้ระอุดีอก 10-15 นาทีก็กินได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น