วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รพ.เด็ก ชวนเช็กการได้ยินของลูก ..นิตยสารรักลูก

รพ.เด็ก ชวนเช็กการได้ยินของลูก ..นิตยสารรักลูก / การได้ยินเป็นส่วนสำคัญของการพูดและพัฒนาการทางภาษา โดยเฉพาะในช่วง 3 ขวบปีแรกของชีวิต เพราะความผิดปกติทางภาษาและพัฒนาการพูดช้าในเด็กที่พบได้บ่อย มักเกิดจากความบกพร่องทางการได้ยินค่ะ และการได้ยินบกพร่องยังส่งผลกระทบต่อการติดต่อสื่อสาร ความจำ พฤติกรรม การพัฒนาทางอารมณ์และสังคม ความสามารถในการเรียน โดยรัฐบาลต้องสูญเสียรายได้เพื่อรักษาพยาบาล ฟื้นฟู รวมทั้งจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่มีภาวะหูหนวกและเป็นใบ้เพิ่มขึ้น **** ในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่าทารกแรกเกิด 1,000 คน จะมีการได้ยินบกพร่องประมาณ 1-2 คน และพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 10-20 เท่า ในทารกแรกเกิดที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการได้ยินบกพร่อง ขณะที่ประเทศไทยมีการศึกษาอุบัติการณ์ภาวะการได้ยินบกพร่องในทารกแรกเกิดเท่ากับ 1.7 ต่อทารกแรกเกิด 1,000 ราย *** ด้วยเหตุนี้ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จึงได้จัดบริการตรวจวินิจฉัยภาวะสูญเสียการได้ยิน โดยเครื่องมือตรวจวัดการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Reponse) เพื่อใช้ตรวจเด็กที่มีภาระวะสูญเสียการได้ยิน ซึ่งแต่ละปีจะมีเด็กถูกส่งมารับการตรวจวินิจฉัยด้านโสต ศอ นาสิก กว่า 16,000 ราย และมีแนวโน้มมากขึ้นในแต่ละปีด้วย พ.ญ.ภาวินี อินทกรณ์ กลุ่มงาน โสต ศอ นาสิก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี บอกว่า "จากสถิติผู้ป่วยที่ได้รับการส่งมาที่กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก ในปี 2552-2554 พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจการได้ยินระด้บก้านสมองเพื่อหาความผิดปกติของการได้ยินอันดับแรกของสถาบันฯ คือผู้ป่วยที่มีพัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสารที่ช้า (Delayed speech) ,ภาวะสูญเสียการได้ยินร้อยละ 18.1 ซึ่งหมายความว่าทารกเหล่านี้อาจมีโอกาสกลายเป็คนพิการทางการได้ยินหรือกาพรูด หรือมีความบกพร่องในการเรียนรู้ในอนาคต**** เนื่องจากเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิดยังไม่สามารถบอกได้ว่า เขามีการได้ยินปกติหรือไม่ ดังนั้น เพื่อให้การค้นหาเด็กที่มีการได้ยินบกพร่องพบได้ตั้งแต่อายุน้อย เพื่อให้สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่เหมาะสมได้เร็ว และช่วยเพิ่มความสามารถในการติดตื่อสื่อสารได้ดีขึ้น พ่อแม่จึงควรพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตหู คอ จมูก ทันที่ที่สงสัยสว่าลูกมีการได้ยิผิดปกติ หือมีพัฒนากรทางภาษาล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน โดยมีอาหารเหล่านี้ อาทิ * เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน ไม่สะดุ้งตกใจเวลามีเสียงดัง ไมหันหาเสียง * เด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 1 ปี ไม่ตอบสนองต่อเสียง เรียกชื่อไม่หัน ไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ * เด็กอายุระหว่าง 1 ปี 8 เดือน ถึง 2 ปี แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถพาลูกน้อยไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทั่วประเทศ" และด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์ เครื่องมือแพทย์ จากสโมสรซอนต้า กรุงเทพ 3 ทางสถาบันฯ จึงได้จัดโครงการ "ตรวจหูให้รู้ว่าหนูได้ยินไหม" โดยมีเป้าหมายในการลดคิวการตรวจจวินิจฉัยให้อย่างทั่วถึงและทันต่อปัญหา สามารถป้องกันแก้ไขความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ในด็กตั้งแต่อายุยังน้อยอย่างเป็นระบบ เพื่ออเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารสร้างโอกาสในด้านการศึกษา และยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็กและยาวชนไทยนั่นเองค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น