วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

20พค.57 "ประกาศกฎอัยการศึก" เมื่อคืนยามดึก ตี.... / ตื่นขี้นมากตักน้ำราดตัวหลายขัน งง.. ทีวี ฝนตก หน้าจอสีเทาเม็ด ๆ เต็มเลย.. นอน..ตื่นอีกที.. จอดำปื๊ด.. เช้า พี่ยุทธบอก.. martil law กฎอัยการศึก 3.00 น. เหรอ

ผบ.ทบ. ประกาศกฎอัยการศึกแล้ว (http://www.youtube.com/watch?v=r6uvIhpiFDU) *** 20พค.57 เมื่อคืนยามดึก ตี.... / ตื่นขี้นมากตักน้ำราดตัวหลายขัน งง.. ทีวี ฝนตก หน้าจอสีเทาเม็ด ๆ เต็มเลย.. นอน..ตื่นอีกที.. จอดำปื๊ด.. เช้า พี่ยุทธบอก.. martil law กฎอัยการศึก 3.00 น. เหรอ / ให้ใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติ.. เราก็มานั่งเล่นเน็ตตามปกติ.. ***กฎอัยการศึก (อังกฤษ: martial law) เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายที่มีอยู่ในเวลาปกติ แต่ไม่ได้ใช้บังคับ โดยเมื่อจะใช้บังคับจะต้องประกาศ และกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้บังคับ ในหลายประเทศจะไม่มีการตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในบางประเทศจะตราเป็นกฎหมายชัดเจน เช่น ฝรั่งเศส ไทย กฎอัยการศึก ในประเทศอังกฤษเริ่มใช้เมื่อ ค.ศ. 1628 (พ.ศ. 2151) และฝรั่งเศสมีกฎอัยการศึกใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1849 (พ.ศ. 2392) กฎอัยการศึกของไทย มีศักดิ์เทียบเท่ากับ พระราชบัญญัติ ตราขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2450 เรียกว่า กฎอัยการศึก ร.ศ. 126 มีทั้งสิ้น 9 มาตรา โดยถอดแบบมาจากกฎอัยการศึกของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาใน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าอำนาจของทหารตามกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 นั้นยึดตามแบบฝรั่งเศส แต่ไทยใช้ตำราพิชัยสงครามตามแบบอินเดีย ซึ่งไม่สอดคล้องกัน จึงทรงยกเลิกกฎอัยการศึก ร.ศ. 126 และตรา กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457[1] ขึ้นใช้แทน มีทั้งสิ้น 17 มาตรา และยังคงใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมรวม 5 ครั้ง การยกเลิกการบังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ใด จะต้องประกาศออกมาเป็นพระบรมราชโองการ *** http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น