วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ชาน้ำมัน..ทำเครื่องสำอาง..

ชาน้ำมัน ทำเครื่องสำอาง * http://www.chaipat.or.th/intranet/project/detail.php?project_id=377 * โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตำบล เวียงพางคำ อำเภอ แม่สาย จังหวัด เชียงราย คลิกเพื่อดู Intranet GIS ความเป็นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษาและทดลองปลูกชาน้ำมันจากประเทศจีนและพืชน้ำมันอื่นๆ และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ของมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชดำริ มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันจากเมล็ดชาและพืชน้ำมัน ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภคและทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิตผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ นอกจากนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังมีพระราชดำริให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันแห่งนี้เป็นโรงงานต้นแบบที่สามารถเข้าชมได้ทุกจุดของการดำเนินงาน สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่ทั้งหมด รวมถึงสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องเต็มประสิทธิภาพตลอดทั้งปี มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด และคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ รวมถึงมีระบบควบคุมการใช้พลังงาน และรูปแบบที่ทันสมัย สวยงาม และมีสีสัน ในขณะที่บริเวณด้านนอกได้รับการออกแบบให้เป็นส่วนพักผ่อนสาธารณะ ซึ่งเป็นทั้งจุดท่องเที่ยวที่สวยงาม และเป็นแหล่งให้ความรู้เกี่ยวกับพืชน้ำมัน การดำเนินงานตามพระราชดำริ การดำเนินงาน การดำเนินงานปลูกชาน้ำมัน ปี พ.ศ.2551 ดำเนินการดูแลต้นชาในพื้นที่โครงการฯ ที่ได้ลงปลูกไว้แล้วตั้งแต่ปี 2549 และมีการปลูกซ่อมต้นชาที่เกิดโรค ไม่เจริญเติบโต และมีศัตรูพืชรบกวน ในพื้นที่ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ ที่ พื้นที่ปลูก ขนาดพื้นที่ (ไร่) จำนวน (ต้น) 1 พื้นที่บริเวณเนินปางมะหัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 1,407 374,352 2 พื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย และพื้นที่ใกล้เคียง 233 39,430 3 พื้นที่บริเวณแม้หม้อ ปูนะ จะตี จังหวัดเชียงราย 2,010 534,660 4 พื้นที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (โป่งน้อย) อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 9 1,602 5 พื้นที่แปลงชาน้ำมัน บ้านโปง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 15 2,200 6 พื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 8 2,046 7 พื้นที่บริเวณสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ 1 88 รวมทั้งสิ้น 3,683 954,378 8. ศึกษาวิจัยประโยชน์อื่นๆ ของต้นชาน้ำมัน เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น 9. ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับบริโภคจากเมล็ดชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ ที่มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคเพื่อสุขภาพ เช่น มะรุม งา ทานตะวัน ฟักทอง ผักน้ำมัน และดอกคำฝอย 10. ผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมัน รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่สกัดจากพืชน้ำมันต่างๆ 11. รวบรวม ศึกษา และทดสอบประโยชน์สูงสุดของพืชน้ำมันต่างๆ ที่สามารถนำมาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ 12. ให้ความรู้เรื่องพืชน้ำมัน คุณสมบัติ และกระบวนการผลิตน้ำมัน 13. จัดสรรพื้นที่โดยรอบศูนย์วิจัยฯ ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย และแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ปลูกชาน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้ดำเนินการศึกษาและพัฒนาการปลูกต้นชาน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2548 โดยนำเมล็ดพันธุ์และต้นอ่อนของต้นชาน้ำมันจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาทดลองปลูกในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร แถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รวม 7 แห่ง เช่น บริเวณพื้นที่โครงการดอยตุง พื้นที่บ้านปางมะหัน และบ้านปูนะ จังหวัดเชียงราย ต้นชาน้ำมัน ต้นชาน้ำมันมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Camellia Oleifera Abel, Theaceae เป็นพืชในสกุล Camellia เช่นเดียวกับชาที่ใช้ในชงดื่ม (Camellia Sinensis) แต่เป็นคนละสายพันธุ์กัน ต้นชาน้ำมันนี้มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า Oil-seed Camellia, Tea Oil Camellia, หรือ Lushan Snow Camellia เป็นไม้เศรษฐกิจซึ่งพบแพร่หลายทางตอนใต้ของประเทศจีน ผลชาสีเขียวมีลักษณะกลม ขนาดเท่าลูกมะนาว เมื่อผลแก่เปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งแตกออก ภายในเปลือกจะเต็มไปด้วยเมล็ดชาสีน้ำตาลเข้มถึงดำ คุณสมบัติของน้ำมันเมล็ดชา น้ำมันเมล็ดชาเป็นที่รู้จักในประเทศจีนนานกว่า 1,000 ปีมาแล้ว มีประโยชน์มากมายจนได้ชื่อว่าเป็น น้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก เนื่องจากมีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกายไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก และไม่มีกรดไขมันทรานส์ ซี่งทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินเอ ดี อี และเคได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้น้ำมันชายังมีกรดไขมันอิ่มตัวซึ่งไม่ดีต่อร่างกายต่ำ ในขณะที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวหรือกรดโอเลอิก (กรดโอเมก้า 9) สูงถึงประมาณ 87-81% กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (กรดโอเมก้า 6) ประมาณ 13-28% และ กรดแอลฟาไลโนเลอิก (กรดโอเมก้า 3) ประมาณ 1-3% กรดไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับ LDL (คลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่มระดับ HDL (คลอเรสเตอรอลชนิดดี) ในร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โรคอัมพาต โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้ จึงดีต่อสุขภาพของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน สตรีมีครรภ์ และผู้สูงอายุ นอกจากน้ำมันชาจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูงอย่างวิตามินอีและสารคาเทชิน ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของน้ำมันให้นานขึ้น น้ำมันชายังมีจุดเดือดเป็นควันสูงถึง 252 องศาเซลเซียส (486 ฟาเรนไฮต์) ทำให้สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทอดหรือการผัดในอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก หรือเป็นส่วนผสมของน้ำสลัดหรือซอสหมักเนื้อสัตว์ ประโยชน์อื่นๆ ของน้ำมันชา นอกจากจะใช้ในการบริโภคและประกอบอาหารแล้ว น้ำมันชายังสามารถนำไปผลิตเป็นเครื่องสำอางค์บำรุงเส้นผมและผิวพรรณต่างๆ เช่น ครีมและโลชั่นบำรุงผิว ครีมกันแดด สบู่ ยาสระผม หรือผสมกับน้ำมันหอมระเหย จากการวิจัยน้ำมันจากเมล็ดชาเพื่อประโยชน์ทางเครื่องสำอางพบว่า โลชั่นที่ผสมน้ำมันชา 5% และ 10% ช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น รวมถึงลดความหยาบกร้านและริ้วรอยบนผิวของผิวอาสาสมัครได้ใน 8 สัปดาห์ รวมถึงได้รับการยอมรับจากอาสาสมัครในระดับที่น่าพอใจ โดยประสิทธิภาพที่ได้จะใกล้เคียงกับน้ำมันแร่ กากเมล็ดชา (Tea seed meal) ที่ได้จากการหีบน้ำมันออกแล้วจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบน (Tea seed cake) มีสารซาโปนินส์ประมาณ 11-18% เป็นส่วนประกอบ สารตัวนี้สามารถนำไปใช้เป็นสารลดแรงตึงผิวและทำให้เกิดฟอง ใช้ในผลิตน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ รวมถึงน้ำยากำจัดศัตรูพืช หอยเชอรี่ในนาข้าว และปลาในบ่อกุ้ง ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการนำเข้ากากเมล็ดชาจากประเทศจีน การดำเนินงานในระยะต่อไป 1. โครงการปลูกฟักทองเพื่อใช้เมล็ดในการผลิตน้ำมัน ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ฟักทอง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ยูนนานไป๋ป่านจากเมืองคุณหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และสายพันธุ์ Cucurbita pepo var. Styrica จากประเทศออสเตรเลีย และนำไปทดลองปลูกในพื้นที่ภาคต่างๆ 8 สถานที่ทดลอง ได้แก่ ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 1 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง โดยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก คือ ประมาณต้นเดือนตุลาคม 2. โครงการทดลองปลูกพืชน้ำมัน (Rapeseed) ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ rapeseed มา 8 สายพันธุ์ จากประเทศจีน คือ จาก The Oil Crops Research Institute, Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS ) จำนวน 5 สายพันธุ์ และพันธุ์เหยาเหยนเบอร์ 7 เบอร์ 8 และเบอร์ 9 และนำไปทดลองปลูกที่ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง โดยฤดูกาลที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก คือ ประมาณเดือนตุลาคม 3. โครงการปลูกมะรุมพันธุ์อินเดีย (Moringa Oleifera) ซึ่งทางโครงการได้รับพระราชทานเมล็ดมะรุมพันธุ์อินเดียมา 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ PKM-1 และพันธุ์ไม่ระบุชื่อจึงให้ชื่อว่า พันธุ์ ก และนำไปทดลองปลูกในพื้นที่ 4 แห่ง คือ ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และดอยตุง จังหวัดเชียงราย 4. โครงการศึกษาและทดลองพืชน้ำมันเพื่อการบริโภคชนิดอื่นๆ เช่น งา ดอกคำฝอย และ Niger seed ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนของการศึกษาและทดลอง ความก้าวหน้า งานวิจัยและพัฒนา 1. ศึกษาพฤติกรรมการเจริญเติบโต และศักยภาพการให้ผลผลิตของชาน้ำมัน ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. สำรวจรวบรวมและศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสกุลชา (Camellia L.) ในประเทศไทย 3. ศึกษาและวิจัยการสกัดแยกน้ำมันจากเมล็ด เก็บข้อมูลสำหรับกำหนดลักษณะอุปกรณ์และเครื่องจักรสำหรับโรงงานผลิต 4. วิจัยน้ำมันจากเมล็ดชา เพื่อประโยชน์ทางเครื่องสำอาง การดำเนินงานโครงการพืชน้ำมัน อื่นๆ 1. โครงการปลูกฟักทองเพื่อใช้เมล็ดในการผลิตน้ำมัน 1.1. ได้รับพระราชทานฟักทองมา 2 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ยูนนานไป๋ป่านจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และสายพันธุ์ Cucurbita pepo var. Styrica จากประเทศออสเตรเลีย 1.2. ส่งเมล็ดพันธุ์ทั้ง 2 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกในพื้นที่ภาคต่างๆ 8 สถานที่ทดลอง ได้แก่ ภาคเหนือ 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก1 แห่ง และภาคใต้ 1 แห่ง 1.3. ได้มีการทดลองปลูกในบางแห่งแล้ว แต่เนื่องจากฝนตกชุกจึงเกิดการเสียหาย จึงได้ส่งเมล็ดพันธุ์ไปเพิ่มเติม และจะได้มีการทดลองปลูกอีกครั้งในฤดูกาลที่เหมาะสม คือประมาณต้นเดือนตุลาคม 2. โครงการทดลองปลูกพืชน้ำมัน rapeseed 2.1 ได้รับพระราชทานเมล็ดพันธุ์ rapeseed มา 8 สายพันธุ์ จากประเทศจีน คือ จาก The Oil Crops Research Institute, Chinese Academy of Agricultural Sciences (CAAS ) จำนวน 5 สายพันธุ์ พันธุ์เหยาเหยนเบอร์ 7 และพันธุ์เบอร์ 8 และพันธุ์เบอร์ 9 2.2 ได้ส่งเมล็ดพันธุ์ทั้ง 8 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกที่ภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง 2.3 การทดลองปลูกจะเริ่มประมาณเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝน 3. โครงการทดลองปลูกมะรุมพันธุ์อินเดีย (Moringaoleifera) 3.1 ได้รับพระราชทานเมล็ดมะรุมพันธุ์อินเดียมา 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ PKM-1 และพันธุ์ไม่ระบุชื่อจึงให้ชื่อว่า พันธุ์ ก 3.2 ส่งเมล็ดทั้ง 2 สายพันธุ์ ไปทดลองปลูกในพื้นที่ 4 แห่ง คือ ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และดอยตุง จังหวัดเชียงราย 3.3 ขณะนี้ได้เพาะต้นกล้าและลงปลูกไปบ้างแล้ว คาดว่าจะได้ข้อมูลเบื้องต้น ภายใน 1 ปี 4. โครงการศึกษาการให้ประโยชน์จากเมล็ดมะเยาหิน (Vernicia montana หรือ Aleurites Montana) ได้รับเมล็ดมะเยาหินจากมูลนิธิชัยพัฒนา 1.8 กิโลกรัม เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ได้วิเคราะห์หาปริมาณน้ำมันในเมล็ดพบว่ามีน้ำมัน 37.64 % และบีบน้ำมันออกมาได้ 18.5 % นำน้ำมันที่บีบได้มาวิเคราะห์หาองค์ประกอบของกรดไขมัน เปรียบเทียบกับน้ำมันตัง (Tung Oil) ที่ได้จากโรงงานพิมพ์ธนบัตรที่นครไชยศรี พบว่าน้ำมันทั้ง 2 แหล่ง มีความใกล้เคียงกันมากทั้งชนิดและปริมาณของกรดไขมัน ตามรายละเอียดที่ปรากฏในรายงาน สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือหาเมล็ดมะเยาหินมาบีบน้ำมันให้ได้น้ำมันประมาณ 20 ลิตร เพื่อมอบให้โรงงานพิมพ์ธนบัตรไปทดสอบคุณภาพเปรียบเทียบกับน้ำมันตังที่นำเข้ามาจากประเทศจีน และถ้าได้น้ำมันมากพอก็จะส่งไปทดสอบตามโรงงานทำสีที่ใช้น้ำมันจากประเทศจีนอยู่ การศึกษาเพื่อการจัดตั้งโรงงานชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ 1. กรมธนารักษ์ ได้มีมติเห็นชอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาเช่าที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ อ.ชร. 15 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งโรงงานยาสูบได้ส่งพื้นที่คืนให้เรียบร้อยแล้ว เนื้อที่ประมาณ 153 ไร่ 2 งาน 92.30 ตารางวา เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานชาน้ำมัน ทั้งนี้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเห็นว่ามีความเหมาะสมในการตั้งโรงงานเพราะเป็นพื้นที่ติดถนนใหญ่ มีความสะดวกในด้านการคมนาคม ขนส่งทั้งวัตถุดิบ และผลผลิต สามารถพัฒนาต่อไปเพื่อเป็นศูนย์รวมสินค้า ความรู้ หรือสถานที่ท่องเที่ยวได้ 2. คณะทำงานชาน้ำมันได้ทำการศึกษาเครื่องมือ เครื่องจักรที่เหมาะสมในการผลิตชาน้ำมันในระยะเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยป่าไม้กว่างซี ตามขั้นตอนต่อไปต้นชาน้ำมันซึ่งเริ่มปลูกตั้งแต่ปี 2549 ปัจจุบันมีอายุระหว่าง 2.5-4 ปี และคาดว่าจะสามารถเก็บเกี่ยวเมล็ดชาน้ำมันที่โตเต็มที่ได้ในปีที่ 5 เมล็ดชาน้ำมันที่เก็บเกี่ยวในปีแรก (ปี 2552) จากปางมะหันพบว่า มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน ไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่ปริมาณน้ำมันที่ได้อยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง คือ ประมาณ 27-38% ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ได้เปิดดำเนินการในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยในระยะแรกทางศูนย์ฯ ได้เริ่มทดลองผลิตน้ำมันจากผลผลิตเมล็ดชาน้ำมันที่ปลูกในโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมันและพืชน้ำมันของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดเชียงราย และในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งไม่มีผลผลิตจากต้นชาน้ำมัน ทางศูนย์ฯ จะทำผลิตน้ำมันจากงา เมล็ดทานตะวัน และมะรุม รวมทั้งจะได้ศึกษาวิจัย และทดลองผลิตน้ำมันจากฟักทอง นอกจากนี้ทางศูนย์ฯ ยังได้เปิดร้านจำหน่ายอาหารที่ใช้น้ำมันชาและผลผลิตด้านการเกษตรจากโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหาร รวมถึงจัดตั้งร้านขายของที่ระลึกจำหน่ายสินค้าของทางศูนย์ฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค เช่น น้ำมันชา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันงา และผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง และ น้ำสลัด เป็นต้น ผู้รับผิดชอบ หน่วยงาน สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง-โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น