วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พืชผลิตน้ำมัน พลัังงานทดแทน

http://srikhorabhume.kaset-surin.com/?p=379 * นักวิชาการด้านพืชพลังงานเผยพบพืชพลังานทดแทนใหม่ตัวใหม่ใช้ ผลิตไบโอดีเซล ศักยภาพใกล้เคียงปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ แนะผู้นำชุมชนขยายผลให้ ความรู้ชาวบ้านปลูก ”มะเยาหิน” ผลิตไบโอดีเซลชุมชนผศ.ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าว ว่า ศูนย์วิจัยพลังงาน ม.แม่โจ้ ร่วมมือสหกรณ์ผู้ผลิตพลังงานทดแทนเพื่อชาติ ได้วิจัยโครงการการประเมิน ศักยภาพพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะเยาหิน) ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (เครือข่ายภาคเหนือ) เนื่องจากวิกฤติการณ์ด้านน้ำมันของโลกทำให้ต้นทุนการผลิต สินค้าของประเทศไทยสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพจากพืชพลังงาน ขึ้นใช้ภายในประเทศเป็นแนวทางในการลดการนำเข้าน้ำมันได้ โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาศักยภาพของผลิตพืชน้ำมันชนิดใหม่ (มะเยาหิน) ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่ปลูกในประเทศลาว และเวียดนาม ซึ่งพบว่ามะเยาหินมีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าสบู่ดำ มีปริมาณน้ำมัน สูงถึง 400-500 ลิตร/ไร่ ซึ่งใกล้เคียงปาล์มน้ำมัน สามารถนำไปผลิตไบโอดีเซลได้ 300 ลิตร ใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลและผลิตเป็นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์และเครื่องจักรได้ มะเยาหิน เป็นพืชป่าที่มีคุณลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นไม้ป่าสามารถเจริญเติบโตได้ทุกพื้นที่แม้ไม่ได้รับการดูแล ทนแล้งได้ ดี ใบสวย ดอกงาม ให้ร่มเงา ใช้เวลาเพียง 2- 3ปีก็ให้ผลผลิต เมื่อสกัดน้ำมันจากเมล็ดแล้ว พบว่า มีเปอร์เซนต์น้ำมันสูง ไม่ระเหิด ง่าย ค่าความร้อนมากกว่าปาล์มน้ำมันและสบู่ดำ ทำให้มีการเผาใหม่ดีกว่า แต่มะเยาหินกลับมาค่าความหนืดมากกว่าอาจส่งผลเสีย ต่อเครื่องยนต์ได้ จึงต้องนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล คาดว่า มะเยาหิน จะเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนได้อย่างแน่นอน โดยขณะนี้ กำลังทำโครงการของบประมาณจากกระทรวงพลังงาน 8 ล้านบาท และสร้างแหล่งเรียนรู้พืชพลังงานทดแทน ที่บ้านแม่นาป้าก หมู่ 6 ต.แม่หอพระ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์ต้นแบบผลิตไบโอดีเซลจากมะเยาหิน สบู่ดำหรือน้ำมันปาล์ม ให้กับกลุ่มเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่สนใจ ทางด้าน อ.พัฒนา ปัญญาเจริญ เจ้าของกิจการโรงงานผู้ผลิตและ จำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล กล่าวว่า ในอดีตน้ำมันเชื้อเพลิงราคา 20 บาท/ลิตร น้ำมันพืชเหลือใช้ 80 บาท/ปี๊บ ต้นทุนในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจึงไม่สูงนัก ปัจจุบัน น้ำมันพืช เหลือใช้ราคาสูงถึง 300 บาท/ปี๊บ ทำให้ต้องหันผลิตใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้มากขึ้นเพื่อลดงบประมาณ ในการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ แต่การผลิตไบโอดีเซลชุมชนนั้นไม่ได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควรและไม่ต่อเนื่อง โดยรัฐสนับสนุนและให้การอบรมแก่ชาวบ้านด้านการผลิตไบโอดีเซล แต่กลับประสบ ปัญหาด้านวัตถุดิบ ทำให้หลาย ๆ โครงการยุบตัวลง เนื่องจากภาครัฐไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ นอกจากนี้แล้ว ภาค รัฐมองว่าการผลิตไบโอดีเซลชุมชนเป็นระบบเล็กไม่สามารถผลิตไบโอดีเซล บริสุทธิ์ได้ และรัฐบาลให้ค่าชดเชยน้ำมันไบโอดีเซลเฉพาะผู้ผลิตรายใหญ่เท่านั้น ไม่สนใจผู้ผลิตรายย่อย ทำให้ต้นทุนสูง และขาดทุนในที่สุด ส่วน อ.สัมฤทธิ์ อัครปะชะ นักวิชาการอิสระด้านพืช พลังงาน กล่าวว่า ต้องการให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทำไบโอดีเซล 1 ตำบล 1 ปั๊ม โดยส่งเสริมเกษตรกรปลูกมะเยาหินและรับซื้อในราคาเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้ชุมชนโดยตรงและเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้แก่ชุมชนด้วย “เราใช้น้ำมันดีเซล 64 ล้านลิตร/วัน มูลค่า 2,000 ล้านบาท ถ้าผลิตไบโอดีเซลจากพืชทดแทน 20-30% จะลดต้นทุนได้ 600 ล้านบาท/วัน และไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเปลือกมะเยาหินสามารถทำเป็นเครื่องประดับ เพราะเปลือกแข็งไม่แตกง่าย จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนพืชพลังงานทดแทน อย่างจริงจัง เพราะราคาน้ำมันโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ” นายสัมฤทธิ์ กล่าว สนใจ “มะเยาหิน” สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290 โทร. 053-875-140 053-878333 08-1531-5376 หรือ e-mail : www.energy@mju.ac.th ที่มา http://alameen2008.thaiza.com/blog_view.php?blog_id=1710

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น