วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
พืชผลิตน้ำมัน
http://www.thai-aec.com/87
*
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88
*
การผลิตปาล์มน้ำมันไทยภายใต้กรอบ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน | By ...
www.thai-aec.com/87 - Cached - Translate this page
Apr 7, 2012 – ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง เมื่อผ่านการสกัดมาเป็นน้ำมันปาล์มแล้ว ... การผลิตปาล์มน้ำมันไทยภายใต้กรอบ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. Posted in: ...
*
การผลิตปาล์มน้ำมันไทยภายใต้กรอบ AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Posted in: บทความและบทวิเคราะห์AEC 07 เมษายน 2555
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง เมื่อผ่านการสกัดมาเป็นน้ำมันปาล์มแล้ว จะเป็นน้ำมันที่มีคุณประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นคุณประโยชน์ในด้านสารอาหารซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิด อุดมด้วยวิตามินอี และวิตามินเอ อีกทั้งยังสามารถเป็นวัตถุดิบหรือสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูป อุตสาหกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมที่ใช้โอเลฟินเป็นวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น
ปาล์มน้ำมันปลูกได้เพียงประมาณ 42 ประเทศทั่วโลกเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่เหมาะสมปลูกปาล์มน้ำมันจะอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 เหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร หรือไม่เกินเส้นรุ้งที่ 20 เหนือ-ใต้เส้นศูนย์สูตร จึงทำให้ประเทศในอาเซียนโดยอย่างยิ่งมาเลเซียและอินโดนีเซีย กลายแหล่งผลิตปาล์มน้ำมันหลักของโลก โดยประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่บริเวณที่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน อยู่ตรงจุดที่ได้เปรียบและสามารถปลูกได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประเทศที่สามารถผลิตปาล์มน้ำมันแยกตามศักยภาพในการผลิตน้ำมันพืชแล้วจะสามารถแยกได้ 3 กลุ่ม ซึ่งได้แก่
1) ประเทศที่ผลิตน้ำมันเกินความต้องการใช้ในประเทศ มีจำนวน 11 ประเทศ แต่มีเพียง 4 ประเทศที่มีศักยภาพในการส่งออกน้ำมันพืช คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา และบราซิล
2) ประเทศที่ผลิตน้ำมันพืชเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ มี จำนวน 18 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้
3) ประเทศที่ผลิตน้ำมันพืชไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ มีจำนวน 47 ประเทศ ประเทศที่เป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ได้แก่ รัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ อินเดีย ปากีสถาน รวมถึง เวียดนาม และกัมพูชา
(ข้อเสนอแนะ) สรุปยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มไทย ภายใต้กรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันของไทย เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องการเสริมสร้างรากฐาน การผลิตของปาล์มน้ำมันไทยให้มีประสิทธิภาพ เช่น ต้นทุนการผลิตต่ำ ผลผลิตต่อไร่สูง ผลผลิตมีคุณภาพ และปริมาณผลผลิตสม่ำเสมอ เป็นต้น โดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตเป็นปริมาณน้ำมันที่เทียบเท่ากับการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ และเผยแพร่ สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถผลิตได้จริง
2. ยุทธศาสตร์การขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม
แม้ว่าปัจจุบันไทยจะเป็นผู้ผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเป็นอันดับของโลก และเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศแล้ว แต่การขยายพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมยังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องผลักดันให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อตอบสนองต่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต รวมถึงอาจมีการขยายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่พื้นที่ที่มีศักยภาพที่เหมาะสม
3. ยุทธศาสตร์การรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
ยุทธศาสตร์นี้เป็นการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มกันของเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างอำนาจต่อรองให้เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย รวมถึงสร้างเสถียรภาพด้านราคา ต้นทุนการผลิต ความมั่นคงและคุณภาพของวัตถุดิบ ในอันจะส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
4. ยุทธศาสตร์การสร้างมูลค่าเพิ่ม
ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์มากมาย สามารถนำไปใช้ได้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้หลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมโอลิโอเคมี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานที่กำกับดูแลนโยบายเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน ต้องส่งเสริมและเร่งผลักดันให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
5. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ
ยุทธศาสตร์นี้เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความจำเป็นต่อการ พัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างเป็นระบบมากที่สุด เช่นเดียวกับ Malaysian Palm Oil Board (MPOB) ซึ่งแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานหรือคณะกรรมหลายชุด รวมถึงคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ แต่ทั้งนี้การดำเนินงานยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ดังนั้นจำเป็นอย่างที่จะต้องมีคณะกรรมการระดับชาติเพื่อบริหารจัดการพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ตั้งแต่การผลิตของเกษตรกร จนถึงผลผลิตขั้นสุดท้าย เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวกันในการพัฒนาปาล์มน้ำมันของไทยให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศทั้งด้านอาหารและด้านพลังงาน และท้ายที่สุดยังไม่แหล่งสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทยด้วย
ที่มา: ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/87#ixzz2KH72KqhW
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น