วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ถั่วงอกสิงห์บุรี

การทำถั่วงอกเพาะ หมู่บ้านบางแคของจังหวัดสิงห์บุรี ได้ชื่อว่ามีการประกอบอาชีพการทำถั่วงอกเพาะ เพราะบริเวณนี้เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ พื้นที่แถบนี้จึงกลายเป็นชายหาดกว้างใหญ่เต็มไปด้วยทรายขาวสะอาด ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงบังเกิดขึ้นด้วยสายตาอันยาวไกลผสมผสานกับความคิด ความสามารถที่จะใช้วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ซึ่งก็ปรากฏว่าได้ผลผลิตของถั่วงอกเพาะที่หาดทรายได้ผลดีเกินคาด เพราะถั่วงอกที่ได้จะมีลักษณะลำต้นที่อวบอ้วน ขาวกรอบ และเก็บรักษาได้นานกว่าถั่วงอกที่เพาะด้วยวิธีเดิม การเพาะถั่วงอกบนหาดทรายเป็นกรรมวิธีที่ง่ายและสะดวก ขั้นตอนก็ต้องเริ่มจากเตรียมเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวที่จะนำมาเพาะต้องคัดเลือกถั่วเขียวไร่ หรือถั่วแขก (ถั่วเขียวผิวดำ) เลือกเมล็ดที่มีขนาดกลางมีความสมบูรณ์ เพราะจะงอกเร็วและจะได้ผลผลิตที่มีปริมาณมาก นำเมล็ดถั่วเขียวที่ได้ไปล้างเศษผง เปลือกถั่วและเมล็ดถั่วที่เน่าเสียออก จนได้เมล็ดที่สะอาด แล้วแช่ลงในน้ำประมาณ ๘?๑๐ ชั่วโมง รอจนกระทั่งเมล็ดถั่วพองใส ถ้าจะให้เร็วต้องแช่ในน้ำอุ่น เพราะจะทำให้เมล็ดถั่วพองและใสได้เร็วขึ้น เมื่อนำมาเพาะจะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว หลังจากแช่เมล็ดนั้น ก็เตรียมพื้นที่ที่จะใช้สำหรับเพาะถั่ว การเลือกทรายที่จะเพาะ ต้องเลือกทรายที่สะอาด บริเวณใดมีทรายขี้เป็ด (ทรายที่มีดินหรือเลนปน) ปนอยู่ถั่วงอกจะเน่าเสีย เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วก็เริ่มลงมือขุดบ่อทรายให้เป็นวงกลมสักประมาณ ๗๐?๘๐ เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของหลุมประมาณ ๒ เมตร แล้วจึงนำเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการแช่จนพองแล้วนำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วหว่านในบ่อทรายเป็นชั้น ๆ การหว่านเมล็ด ถ้าต้องการให้ลำต้นถั่วงอกเพาะมีลักษณะอวบอ้วน ขาวก็ต้องหว่านเมล็ดให้บาง ๆ แต่ถ้าต้องการให้ลำต้นยาวก็หว่านเมล็ดให้ หนา ๆ เมื่อหว่านเมล็ดลงไปเรียบร้อยจึงกลบด้วยทรายบาง ๆ พอเห็นเมล็ดถั่วรำไร หว่านเมล็ดสลับการกลบด้วยทรายเป็นชั้น ๆ ไปเรื่อยจนถึงชั้นสุดท้าย ก็นำทรายกลบบนเมล็ดถั่วให้หนาประมาณ ๕-๗ เซนติเมตร อัตราส่วนเมล็ดถั่วเขียว ๑ ถังต่อจำนวนพื้นที่ ๑ หลุม การควบคุมดูแลการเพาะถั่วงอก ต้องรดน้ำให้ชุ่มทั้งเช้าและเย็น ถ้ามีแสงแดดมาก ๆ จะต้องใช้กระสอบคลุม แล้วปิดทับด้วยก้านมะพร้าว ดูแลรดน้ำเช้าเย็นจนครบ ๔ วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เมื่อนำถั่วงอกเพาะขึ้นจากบ่อทรายใส่ลงในกระพ้อม (เครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่เป็นภาชนะขนาดใหญ่ สานเป็นตา ๆ ไม่ห่างนัก) เพื่อนำมาล้างทรายที่ติดกับถั่วงอกในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ประหยัดน้ำและจะได้ถั่วงอกเพาะที่ขาวสะอาด เกลี้ยงเกลา น่ารับประทานส่วนวิธีการล้างก็กางสองแขนโอบถั่วงอกเพาะ ตลบถั่วงอกเพื่อคลึงเบา ๆ เปลือกและรากของถั่วงอกเพาะก็จะหลุดลอยอยู่บนผิวน้ำ เป็นอาหารของปลาต่อไป ซึ่งไม่เป็นการสร้างมลภาวะให้กับ แม่น้ำ และยังเป็นการประหยัดต้นทุนในการผลิตด้วย ปัจจุบันได้พัฒนาใช้วงสังกะสี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กาง ๑ เมตร ลึก ๑ เมตรแทนที่จะขุดหลุมลงในหาดทรายซึ่งต้องเปลืองแรงมาก สามารถยกเคลื่อนย้ายไปในที่ต่าง ๆ ได้ โดยวางบนพื้นทรายก็ทำการเพาะได้ ปริมาณถั่วที่ใช้ประมาณ ๔-๕ ลิตร ต่อ ๑ วงสังกะสี ผู้ประกอบการจะใช้วงสังกะสี ๔ วง ในแต่ละวัน ซึ่งใช้ถั่วพันธุ์ประมาณ ๑ ถัง แล้วทำการเพาะถั่วต่อไปทุก ๆ วัน วันละ ๔ วง และเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ต่อเนื่องกันจึงต้องเพิ่มวงสังกะสีเป็น ๑๖ วง จะต้องทำการเพาะทุกวันจึงจะได้ผลผลิตไม่ขาดตอน สามารถส่งออกสู่ท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ ขั้นตอนการหว่านเมล็ดพันธุ์ก็ทำเช่นเดียวกับทำที่พื้นหาดทราย เพียงแต่ต้องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้นระหว่างการเจริญเติบโตของถั่วจนครบ ๔ วัน ก็จะสามารถเก็บผลผลิตนำถั่วไปล้างได้ และต่อมาภูมิปัญญาชาวบ้านได้ปรับพัฒนาในเรื่องภาชนะที่ใช้ในการเพาะเป็นกระถางปลูกบัวแทนวงสังกะสี (มีอายุการใช้งานน้อยผุกร่อนได้ง่าย) ซึ่งต้องใช้ขนาดปากกระถางกว้างประมาณ ๑ เมตร สูงประมาณ ๖๐?๗๐ เซนติเมตร ก้นเจาะรู ทางด้านข้างใส่ท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ เซนติเมตร สำหรับใช้เป็นทางระบายน้ำ เพื่อถ่ายเทความร้อนจากกระถางเพาะถั่วงอกในขณะรดน้ำ การเตรียมกระถางก็ต้องสะอาดอาจจะแช่น้ำในกระถางด้วยคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรค และป้องกันการเน่าเสียของถั่วงอกในขณะทำการเพาะ กระถางต้องวางบนก้อนซีเมนต์ เพื่อให้ก้นกระถางสูงจากพื้น เวลารดน้ำถั่วงอกจะได้ถ่ายเทออกจากกระถางได้ หลังจากคัดเลือกเมล็ดพันธุ์และล้างสะอาดแล้ว นำเมล็ดพันธุ์มาแช่ไว้ในกระถางปลูกบัวที่ล้างสะอาดแล้ว ประมาณ ๘?๑๐ ชั่วโมงจนเมล็ดถั่วพองใส (อัตราส่วนในการเพาะเมล็ดพันธุ์ ๑๖ กิโลกรัม ต่อกระถางเพาะ ๑ ใบ จะได้ผลผลิตถั่วงอกเพาะ ๘๐?๑๐๐ กิโลกรัม ) ระบายน้ำออกจากปลายท่อ ที่เจาะไว้ที่ก้นกระถาง ปิดทับด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ที่ทำเป็นตาข่ายถี่ ๆ คลุมทับด้วยกระสอบ ๑ ชั้น รดน้ำให้ชุ่มแล้วปล่อยทิ้งไว้ ระหว่างที่ถั่วงอกเจริญเติบโตจะต้องคอยรดน้ำเพื่อถ่ายเทความร้อนออกจากระถางถั่วงอกเพาะ ขณะรดน้ำจะใช้เท้าสัมผัสกับน้ำที่ไหลออกจากปลายท่อ เพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของน้ำ ถ้าน้ำที่ไหลออกมาจากปลายท่อเย็น จึงหยุดรดน้ำได้ การรดน้ำจะรดเป็นระยะ ๆ คือ ๒ ชั่วโมง ต่อ ๑ ครั้ง และจะรดเฉพาะตอนกลางวัน เวลากลางคืนไม่ต้องรดน้ำ น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำจากแม่น้ำ หรือจากน้ำบาดาลที่จะมีแร่ธาตุที่ถั่วงอกต้องการ ถ้ารดด้วยน้ำประปาการเจริญเติบโตจะไม่ดีเท่าที่ควร การดูแล ในวันที่ ๒ จะต้องเพิ่มกระสอบคลุม เป็น ๒ ชั้น วันที่ ๓ จะเพิ่มปริมาณกระสอบเป็น ๓ ชั้น ถั่วงอกจะเพิ่มมาเต็มกระถางพอดี วันที่ ๔ ปริมาณ ถั่วงอกจะออกล้นปากกระถาง จะใช้กระสอบคลุมทับเป็น ๔ ชั้น เพื่อไม่ให้ถั่วงอกยาวเร็วเกินไป จะได้ถั่วงอกเพาะที่มีลำต้นอวบอ้วน พอเวลา ๒๒.๐๐ น. ของวันที่ ๔ ก็จะลงมือเก็บผลผลิต เพื่อนำมาล้างให้สะอาดก่อนส่งออกสู่ตลาดในวันรุ่งขึ้น สำหรับการปลูกสร้างโรงเรือนเพาะถั่วงอก จะมีการสร้างอ่างล้างถั่วงอกไว้มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรือน ขนาดของอ่างจะกว้าง ประมาณ ๒ เมตรยาว ๔ เมตร สูง ๑ เมตร สามารถนำกระพ้อม บรรจุถั่วงอกที่เตรียมจะล้างลงไปในอ่าง แล้วใช้วิธีการล้างดังได้กล่าว ตอนต้นที่เพาะบนหาดทรายแล้ว หลังจากนั้นจะใช้ตะแกรงขนาดใหญ่ตักถั่วงอกเพาะขึ้นจากกระพ้อม พักให้สะเด็ดน้ำก่อนที่จะบรรจุลงในภาชนะ ชั่งน้ำหนักเตรียมส่งออกจำหน่าย malee: อยากทราบวิธีการเพาะถั่วอกมากเลย นภดล: ถั่วงอก..?..เพาะกินเองในบ้าน โดย มีสพิมพ์ใจ วัชรานุรักษ์ .............ปัจจุบัน ถั่วงอกเป็นผักเศรษฐกิจที่น่าสนใจ เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการบริโภควันละ 200,000 กิโลกรัม นอกจากนี้เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะมีโปรตีน วิตามินและเกลือแร่เป็นผักชนิดเดียวที่ใช้เวลาเพาะเพียง 3 - 4 วัน จึงสามารถทำรายได้ดีกับผู้เพาะ แต่พบว่าถั่วงอกส่วนใหญ่ที่จำหน่ายนั้นมีสารเคมีปนเปื้อน เพราะผู้ขายต้องการสนองตลาดผู้บริโภคที่ชอบถั่วงอกที่มีความกรอบขาว และอวบอ้วน นอกจากนี้ผู้ขายยังต้องการเร่งการงอกของถั่ว การรักษาถั่วงอกให้คงความสดอยู่นานระหว่างการขนส่งสู่ตลาด และการรอจำหน่ายสู่ลูกค้า ..............ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารเคมีจำพวกสารเร่ง สารอ้วน สารฟอกขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) สารคงความสด (ฟอร์มาลิน) ซึ่งสารเคมีเหล่านี้กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหาร เพราะล้วนเป็นสารที่มีพิษต่อร่างกายสูง หากรับประทานเข้าไปอาจจะมีผลต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบประสาทและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้ หลักการพื้นฐานทั่วไปในการเพาะถั่วงอก ปัจจัยที่สำคัญที่การเพาะถั่วงอก มี 6 อย่างด้วยกันคือ 1. เมล็ดถั่ว 2. ภาชนะเพาะ 3. น้ำ 4. วัสดุเพาะ 5. ภูมิอากาศ 6. แสงสว่าง 1. เมล็ดถั่ว เมล็ดถั่วที่นำมาเพาะเป็นถั่วงอกที่นิยมบริโภคที่สุดคือ เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วเขียวที่สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอกนั้นมี 2 พันธุ์ คือ ถั่วเขียวผิวมัน (เปลือกเมล็ดสีเขียว) และเมล็ดถั่วเขียวผิวดำ เมล็ดจะต้องใหม่ไม่เก่าเก็บเพราะอัตราการงอกจะลดลงเรื่อยตามระยะเวลาที่เก็บไว้ เมล็ดต้องสะอาด ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์ และจำนำเมล็ดมาทำความสะอาดอย่างดีก่อนเพาะ โดยการแช่เมล็ดถั่วในน้ำอุ่น 50 - 60 องศาเซลเซียส หรือผสมน้ำเดือดจัด 1 ส่วน กับน้ำเย็น 1 ส่วน แช่ทิ้งไว้จนน้ำเย็น แล้วแช่ต่อไปนาน 6 - 8 ชั่วโมง วิธีนี้นอกจากจะฆ่าเชื้อโรคแล้ว ยังกระตุ้นให้ถั่วงอกงอก ได้เร็วขึ้นด้วย 2. ภาชนะ ภาชนะเพาะทำหน้าที่รองรับเมล็ดถั่ว ป้องกันแสงสว่าง ปรับสภาพความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการงอก จำกัดขอบเขตการงอกของถั่ว ทำให้ถั่วงอกมีลักษณะลำต้นอวบสั้น ภาชนะเพาะควรมีปากแคบเพื่อจำกัดการงอกของถั่ว ภาชนะดินเผาจะเก็บความชื้นได้ดีกว่าภาชนะพลาสติก แต่ภาชนะพลาสติกคงทน น้ำหนักเบา ราคาถูก ทำความสะอาดง่าย โดยปกติเมล็ดถั่ว 1 ส่วน จะโตเป็นถั่วงอกประมาณ 5 - 6 เท่า โดยน้ำหนัก ดังนั้นขนาดของภาขนะควรจะพอเหมาะกับปริมาณของเมล็ดถั่วที่เพาะด้วยภาชนะเพาะควรมีสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง หรือเป็นภาชนะที่มีฝาปิด ภาชนะเพาะจะต้องมีรูระบายน้ำทั้งด้านล่างและด้านข้าง ขนาดของจะต้องเล็กกว่าเมล็ดถั่ว ภาชนะเพาะจะต้องสะอาดเสมอ ควรล้างทำความสะอาด คว่ำตากแดดให้แห้งหรือลวกน้ำร้อยฆ่าเชื้อโรค แล้วผึ่งแห้ง หลักจากใช้งานแล้วทุกครั้ง 3. น้ำ น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเพาะ อาจจะเป็นน้ำจากแหล่งธรรมชาติ น้ำบาดาล หรือน้ำประปาที่สะอาดและมีอุณหภูมิปกติ เมล็ดถั่วจะต้องได้รับน้ำสะอาดและปริมาณที่พอเพียงสม่ำเสมอตลอดการเพาะ 2 - 3 วัน หากขาดน้ำจะทำให้การงอกชะงัก ไม่เติบโตสมบูรณ์ เพราะน้ำเป็นปัจจัยที่ทำให้ถั่วงอกเจริญเติบโต ระบายความร้อยที่เกิดขึ้นระหว่างการงอก ความร้อนภายในภาชนะจะทำให้ถั่วเน่า ควรรดน้ำสะอาดสม่ำเสมอทุก 2 - 3 ชั่วโมง หากภาชนะเป็นพลาสติกและรดน้ำสะอาดทุก 3 - 4 ชั่วโมงหากภาชนะเป็นประเภทดินเผา การรดน้ำจะรดจนกว่าน้ำที่ไหลออกจากภาชนะเพาะมีอุณหภูมิเท่ากับน้ำที่ใช้รด รดน้ำมากถั่วจะเน่า หากรดน้ำน้อยไปถั่วจะรากยาวแตกฝอย นอกจากนี้ ควรตั้งภาชนะเพาะไว้ในที่แห้ง ระบายน้ำและอากาศได้ดี 4. วัสดุเพาะ อาจจะใช้วัสดุเพาะเพื่อช่วยเก็บความชื้น เพิ่มน้ำหนักกดทับทำให้ถั่วงอกอวบอ้วน วัสดุเพาะได้แก่ ทราย แกลบเผา ฟางข้าว ฟองน้ำ ฯลฯ การใช้วัสดุเพาะต้องอาศัยความชำนาญ 5. ภูมิอากาศ ฤดูฝน ฝนตกมาก ความชื้นในอากาศสูง ภาวะการเจริญเติบโตของถั่วจะช้าและเน่าง่าย ปริมาณน้ำที่ใช้รดก็จะน้อยลง 6. แสงสว่าง แสงสว่างทำให้ถั่วมีสีเขียว ลำต้นผอมยาว และมีกลิ่นถั่ว ดังนั้นภาชนะเพาะควรทึบแสง หรือมีสีดำ สีเขียว สีน้ำเงิน หรืออาจจะมีฝาปิด หรือตั้งภาชนะไว้ในที่มืด ไม่มีแสง หนังสืออ้างอิง คมสัน หุตะแพทย์ และกำพล กาหลง. สารพัดวิธีเพาะถั่วงอก สยามศิลปการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร.2545. วิธีการเพาะถั่วงอกในถังพลาสติก อุปกรณ์ 1. ถังพลาสติกสีเขียวทึบแสง มีฝาปิด ขนาดกว้าง 7 นิ้ว สูง 6 นิ้ว เจาะรูที่ก้น ขนาดเล็กกว่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณ 12 รู 2. เมล็ดถั่วเขียวหนักประมาณ 200 กรัม 3. แผ่นฟองน้ำตัดเป็นแผ่นวงกลมขนาดใหญ่กว่าความกว้างของถังเล็กน้อย 1 แผ่น 4. น้ำอุ่น (น้ำเดือด 1 ส่วน ผสมกับน้ำอุณหภูมิปกติ 1 ส่วน) 5. น้ำสะอาดสำหรับรดน้ำถั่วทุก 3 - 4 ชั่วโมง ขั้นตอน/วิธีการเพาะ 1. การเตรียมเมล็ดถั่ว - เลือกเมล็ดถั่วที่ไม่เก่า เก็บเศษสกปรกและเลือกเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง - แช่ถั่วในน้ำอุ่น และแช่ต่อไปจนน้ำเย็น ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง เมล็ดถั่วจะพองขึ้น เก็บเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไป - ล้างถั่วให้สะอาด 2. การเตรียมภาชนะและวัสดุเพาะ - ภาชนะเพาะจะต้องสะอาด แห้ง ผ่านการตากแดด หรือฆ่าเชื้อแล้ว - ฟองน้ำสะอาดผ่านการฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน แล้วตากแดดแห้ง 3. นำถั่วเขียวจากข้อ 1 ใส่ในถังเพาะเกลี่ยให้เสมอกัน 4. วางฟองน้ำปิดทับบนเมล็ดถั่ว 5. รดน้ำบนฟองน้ำให้ทั่ว อาจจะใช้ฝักบัวรดน้ำ หรือสายยางก็ได้ 6. ปิดฝาถังเพาะ วางไว้ในที่ร่ม ไม่ร้อน และพื้นแห้ง อาจจะวางบนอ่างล้านจานในล้าน 7. รดน้ำทุก ๆ 3 - 4 ชั่วโมง โดยรดน้ำให้ทั่วบนฟองน้ำ ให้น้ำไหลผ่านออกทางรูด้านล่าง ควรรด 2 ครั้ง ครั้งแรกเพื่อระบายความร้อน ครั้งที่ 2 เพื่อให้ถั่วชุ่มน้ำ หากเวลากลางวันที่ไปทำงานหรือกลางคืน อาจจะวางถังเพาะ เปิดฝาไว้ในอ่างล้างแล้วปล่อย ให้น้ำค่อย ๆ หยดตลอดเวลา 8. รดน้ำตามข้อ 7 นาน 3 วัน วันที่ 2 ถั่วงอกจะถอดปลอก ควรรับประทานในวันที่ 3 หรือ 4 หากยังไม่รับประทาน ให้นำถั่วใส่ในตู้เย็น หรือเก็บถั่วงอกใส่ถุงพลาสติก หากทิ้งไว้ถั่วจะงอกยืดยาวออก 9. เก็บถั่วงอกออกจากถัง ทำความสะอาดทุกครั้งที่ใช้แล้ว ถั่วงอกเพาะกินเองได้ในบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ลองเพาะดูหากทำได้ดีแล้ว มะเอ@รักควาย: * วีดีโอเขาโชว์.. เมล็ดถั่วเขียวไร่ทิพย์ ถุงละ 500 กรัม.. เคาะบริเวณใส ดูว่ามีฝุ่นถั่ว กระจายเกาะผิวซองพลาสติกด้านใน (ถ้าด้านนอกแปลว่าถุงรั่วนะคะ อิอิ) ถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษ ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำได้ในครัวเรือน ........นิมิตร์ เทียมมงคล กับการเพาะถั่วงอกตัดราก แบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์ มีเลขการบริโภคถั่วงอกของคนไทย เฉพาะกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลมีปริมาณมากถึง 200,000 กิโลกรัม ต่อวัน เมื่อคำนวณการบริโภคทั้งประเทศภายในวันเดียวจะมีการบริโภคถั่วงอกไม่น่าจะต่ำกว่า 1 ล้านกิโลกรัม ดังนั้น อาชีพในการเพาะถั่วงอกจึงมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ และเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรและประชาชนให้ความสนใจ เนื่องจากเป็นอาชีพที่มีการลงทุนต่ำและคืนทุนได้เร็ว คุณนิมิตร์ เทียมมงคล อยู่บ้านเลขที่ 98 หมู่ที่ 3 ตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000 โทร. (036) 613-031 และ (081) 251-8285 ที่เริ่มต้นจากการเพาะถั่วงอกตัดรากไร้สารพิษในตะกร้าพลาสติค ปัจจุบันได้ประยุกต์วิธีการเพาะเพื่อให้มีผลผลิตมากขึ้น โดยเพาะในบ่อซีเมนต์เพาะถั่วงอกเนื่องจากเปิดร้านขายอาหารมังสวิรัติ โดยใช้ชื่อร้านว่า "ศูนย์งอกงาม" ร้านตั้งอยู่ตรงข้ามกับ บ.ข.ส. ลพบุรี ในแต่ละวันจะมีผู้คนเข้ามารับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นจำนวนมาก และเมนูอาหารที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษคือ อาหารที่ทำจากถั่วงอก อาทิ ยำถั่วงอกตัดราก ก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ฯลฯ หลักพื้นฐาน 3 ประการ ในการเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ 1. เมล็ดถั่วเขียว ที่จะนำมาเพาะจะต้องมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง สายพันธุ์ที่คุณนิมิตร์แนะนำและใช้อยู่คือ พันธุ์ "กำแพงแสน 2" เนื่องจากเป็นถั่วเขียวที่มีเมล็ดใหญ่ ทำให้ต้นถั่วงอกที่เพาะได้มีขนาดต้นโต ยาว และอวบอ้วน น่ารับประทาน 2. ภาชนะที่ใช้เพาะถั่วงอกจะต้องทึบแสงและมีการระบายน้ำดี เช่น การเพาะในตะกร้าพลาสติคให้เอาถุงดำมาคลุมไว้และตั้งไว้ในห้องมืด หรือถ้าเพาะในบ่อซีเมนต์จะต้องปิดปากบ่อให้มิดชิด 3. มีการให้น้ำอย่างเหมาะสมและเพียงพอที่จะทำให้ถั่วงอกที่เพาะไม่เกิดความร้อนที่สะสมมากเกินไป วิธีการสังเกตง่ายๆ ว่ามีความร้อนสะสมหรือไม่ โดยผู้เพาะใช้มือสัมผัสเมล็ดถั่วเขียวส่วนของชั้นบนสุดว่ารู้สึกร้อนหรือไม่ และในการให้น้ำในแต่ละครั้งจะต้องไม่มีไอจากความร้อนขึ้นมา ถ้าตะกร้าพลาสติคหรือวงบ่อซีเมนต์ที่ใช้เพาะถั่วงอกมีความร้อนสะสมมากเกินไป จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของถั่วงอก จะได้ถั่วงอกลำต้นเล็กไม่อวบอ้วน และต้นถั่วงอกมีจำนวนรากฝอยมากไม่น่ารับประทาน การเพาะถั่วงอกแบบนี้เริ่มจาก การคัดเลือกเมล็ดถั่วเขียวจะต้องคัดเมล็ดที่ไม่สวยออก หลังจากนั้นนำเมล็ดมาล้างทำความสะอาด 2-3 น้ำ เทคนิคที่สำคัญ ก็คือจะต้องนำถั่วเขียวที่ทำความสะอาดแล้วมาแช่ในน้ำอุ่นนานประมาณ 8 ชั่วโมง (วิธีเตรียมน้ำอุ่นให้ใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำเย็นธรรมดา 3 ส่วน) หลังจากแช่น้ำอุ่นแล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดอีก 2-3 ครั้งจนน้ำดูใสสะอาด อุปกรณ์ที่ใช้เพาะถั่วงอกแบบตัดรากจะใช้ตะกร้าพลาสติกที่มีปากกว้างประมาณ 15 นิ้ว และมีความสูงประมาณ 12 นิ้ว มีตาข้างรอบตะกร้าเพื่อเป็นรูระบายน้ำ หลังจากนั้นให้วางแผ่นตะแกรงพลาสติกเป็นฐานรองก้นตะกร้า ปูทับด้วยแผ่นกระสอบป่าน ปูแผ่นตะแกรงพลาสติกทับอีกที และโรยเมล็ดถั่วเขียวให้ทั่วตะแกรงหนาประมาณ 1.50 เซนติเมตร ถือว่าเสร็จสิ้น 1 ชั้น จากนั้นปูทับด้วยกระสอบป่าน ตามด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วโรยเมล็ดถั่วให้มีความหนาเท่าเดิม ทำซ้ำแบบนี้ 4 ชั้น แต่ในชั้นสุดท้ายเมื่อโรยเมล็ดถั่วเสร็จแล้ว หลังจากปิดทับด้วยตะแกรงพลาสติกแล้วจะต้องปิดทับด้วยกระสอบป่าน 2 ผืนซ้อนกัน หลังจากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม นำตะกร้าไปใส่ในถุงดำที่ตัดมุมตรงก้นถุงออกแล้ว ทำการพับปากถุงให้มิดชิดเพื่อไม่ให้อากาศและแสงเข้า นำไปวางไว้ในที่ร่มจะต้องรดน้ำ 3 เวลาเป็นอย่างน้อย (เช้า-กลางวัน-เย็น) รดน้ำจนครบ 3 คืน เช้าขึ้นมาอีกวันก็นำมาใช้ได้ โดยยกเอาแผงถั่วงอกมาแช่ในน้ำ ตัดเอาเฉพาะส่วนต้น ส่วนของรากทิ้งไป วิธีการนี้ง่ายมากเพราะรากของถั่วงอกจะแทงทะลุตะแกรงและกระสอบป่าน เราจะใช้มีดคม ๆ ตัดส่วนของต้นลงแช่น้ำ ผู้สนใจเริ่มต้นเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในตะกร้าพลาสติคให้เกิดความชำนาญก่อน เมื่อเกิดความชำนาญแล้วจึงมาเริ่มเพาะในวงบ่อซีเมนต์ ผลผลิตถั่วงอกตัดรากที่เพาะในตะกร้าพลาสติคจะได้ประมาณ 6-7 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า ในขณะที่เพาะในบ่อซีเมนต์ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร และมีความสูงของวงบ่อ 50 เซนติเมตร จะเพาะถั่วงอกได้ผลผลิตเฉลี่ย 10-12 กิโลกรัม ต่อวงบ่อ มั่นใจในคุณภาพถั่วงอกว่าปลอดสารเคมีทุกชนิดเนื่องจากการันตีด้วยมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ คุณนิมิตร์เริ่มต้นในการเพาะถั่วงอกโดยยึดหลักปลอดสารเคมีมาตั้งแต่ต้น จะไม่มีการใช้สารเคมีหรือแม้แต่การปลูกผักชนิดต่างๆ ที่นำมาเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารในร้านศูนย์งอกงาม จะมีการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด จนได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร ว่าถั่วงอกตัดรากและผักชนิดต่างๆ เช่น วอเตอร์เครส ที่ปลูกในพื้นที่ 3 ไร่ ปลอดจากการใช้สารเคมีทุกชนิด จุดนี้สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคและสร้างความภูมิใจให้แก่คุณนิมิตร์ที่สามารถผลิตถั่วงอกอินทรีย์ตา มที่ได้ตั้งใจไว้เผยแพร่ความรู้ และสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์สู่เกษตรกร ขณะนี้วิธีการเพาะถั่วงอกแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์ของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคล ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยเรียบร้อยแล้ว คุณนิมิตร์ได้บอกเหตุผลหลักของการจดสิทธิบัตรเพื่อป้องกันคนต่างชาติขโมยความรู้และภูมิปัญญาของคนไทยไป แต่สำหรับคนไทยคุณนิมิตร์มีความยินดีที่จะเผยแพร่ความรู้วิธีการเพาะทุกขั้นตอนโดยไม่ปิดบัง เปิดให้เกษตรกรและผู้สนใจเข้าศึกษาดูงานและมาฝึกปฏิบัติจริงได้ที่บ้าน ไม่มีการหวงวิชาแม้แต่น้อย มีเกษตรกรหลายครัวเรือนมีรายได้เพิ่มเติมจากการเพาะถั่วงอกตัดรากและปลูกผักแบบอินทรีย์ เป็นเงิน 2,000-3,000 บาท ต่อเดือน ปัจจุบันคนในหมู่บ้านที่สนใจจะเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรแบบอินทรีย์แบบคุณนิมิตร์ได้มีการรวมตัวกันตั้งเ ป็น "กลุ่มเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ตำบลโคกลำพาน" มีสมาชิกจำนวน 60 คน กำลังการผลิตถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ ใน 1 วงบ่อซีเมนต์ ปัจจุบัน คุณนิมิตร์มีวงบ่อ จำนวน 90 วงบ่อ โดยเพาะถั่วงอกหมุนเวียนไปมา จำนวน 15 วงบ่อ ต่อครั้ง หรืออาจจะมากขึ้นตามออเดอร์ที่สั่งเพิ่มเข้ามา และจะเพาะสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อให้มีถั่วงอกจำหน่ายส่งขายทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ในแต่ละครั้งจะผลิตถั่วงอกตัดรากได้เฉลี่ย 200-400 กิโลกรัม ใน 1 วงบ่อซีเมนต์ จะใช้เมล็ดถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 2 อัตรา 1.8 กิโลกรัม จะเพาะถั่วงอกได้ประมาณ 10-12 กิโลกรัม เอกลักษณ์ของถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ คุณนิมิตร์ได้บอกถึงเอกลักษณ์และคุณสมบัติเด่นของถั่วงอกของร้าน "ศูนย์งอกงาม" จะมีลักษณะดังนี้ "ต้นยาวและขาว รสชาติหวานกรอบ ที่หลายคนได้รับประทานแล้วบอกว่าเหมือนกับกินมันแกว ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว เนื่องจากเป็นถั่วงอกอินทรีย์ ทำให้เก็บรักษาได้นาน ถ้าบรรจุใส่ถุงพลาสติคมัดปากถุงให้แน่นเก็บทิ้งไว้ในอุณหภูมิปกติ จะไว้ได้นานเป็นเวลา 3 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในตู้เย็นจะเก็บได้นานถึง 7-10 วัน" ในอดีตการเพาะถั่วงอกตัดรากของคุณนิมิตร์จะเน้นให้ได้ต้นถั่วงอกที่มีลักษณะอ้วนสั้น แต่พบปัญหาลักษณะการอวบน้ำมากกว่าต้นยาว มีอายุการจำหน่ายสั้นและเกิดเน่าเสียได้ง่าย สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจเพาะถั่วงอกไว้รับประทานเองและต้องการต้นถั่วงอกที่อวบอ้วน คุณนิมิตร์ได้บอกถึงเทคนิคอยู่ที่การถ่วงน้ำเพื่อต้นถั่วอวบอ้วนในคืนที่ 2 ของการเพาะ ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นถั่วงอกเจริญเติบโตได้ดีที่สุด เป็นระยะของการยืดยาวของต้นมากที่สุดและเป็นช่วงที่ต้องการน้ำและความชื้นมาก สำหรับการเพาะถั่วงอกในตะกร้าพลาสติค ปกติจะมีการรดน้ำให้ตะกร้าพลาสติค 3 เวลาแล้ว ในคืนที่ 2 จะต้องรดน้ำบนถุงดำที่ปิดตะกร้าแน่น รดจนให้น้ำขังเป็นแอ่งบนปากตะกร้าโดยน้ำหนักของน้ำจะไปกดทับต้นถั่วงอก จะส่งผลให้ต้นถั่วงอกมีขนาดของต้นที่อวบอ้วน เทคนิคสำคัญตอนที่นำเอาถั่วงอกขึ้นจากน้ำ จะต้องผึ่งในตะกร้าสักพัก เพื่อให้ถั่วงอกสะเด็ดน้ำแล้วรีบบรรจุลงถุงพลาสติกมัดยางให้แน่นโดยไม่ให้อากาศเข้า สามารถเก็บถั่วงอกไร้รากและปลอดสารพิษเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 5-7 วัน โดยถั่วงอกไม่เหลือง วิธีการเพาะถั่วงอกแบบนี้สามารถทำบริโภค ได้ในครัวเรือน, ต้นทุนต่ำ และปลอดสารพิษ ขั้นตอนการบรรจุถุงและการเก็บรักษา เมื่อต้นถั่วงอกตัดรากสะเด็ดน้ำแล้ว จะต้องรีบนำไปบรรจุลงถุงพลาสติค ทันทีและมัดปากถุงให้แน่น ถ้าปล่อยให้ถั่วงอกสัมผัสอากาศนานๆ ต้นถั่วงอกจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองแล้วจะคล้ำดำในที่สุด เมื่อนำไปประกอบอาหารไม่น่ารับประทาน คุณนิมิตร์ได้ทำการเกษตรแบบอินทรีย์โดยยึดหลักการที่ว่า "เมื่อสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐาน สินค้าก็จะขายด้วยตัวของมันเอง" ถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ของคุณนิมิตร์มีส่งขายให้ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์ กรุ๊ป, เลมอน ฟาร์ม, ร้านศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ร้านโกลเด้นเพลส และท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ภายใต้แบรนด์สินค้าที่ คุณหมอประเวศ วะสี ได้ให้ความกรุณาตั้งชื่อให้ว่า "ถั่วงอกรักชาติ" ด้วยลักษณะของถั่วงอกที่ขึ้นตั้งตรงอย่างเป็นระเบียบเหมือนคนเข้าแถวเรียงกัน หนังสือ "การเพาะถั่วงอกตัดรากแบบอินทรีย์ในวงบ่อซีเมนต์" แจกฟรี พร้อมกับ "ไม้ผลแปลกและหายาก" พิมพ์ 4 สี จำนวน 120 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์จำนวน 50 บาท ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/200 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398 แหล่งที่มา : www.rakbankerd.com ทวีศักดิ์ ชัยเรืองยศ มะเอ@รักควาย: วันนี้แช่ถั่วเขียวไว้แล้วค่ะ เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างไว้เรียบร้อยแล้ว แล้วจะนำภาพขั้นตอนต่างๆในการเพาะ มาลงให้เพื่อนๆได้ชมกันค่ะ *4 *24 *25 *3 นำร่อง [0] ดัชนีข้อความ [#] หน้าถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น